การดูแลสุขภาพอย่างไร ? เมื่ออยู่บนเครื่อง
สาระน่ารู้ การเดินทาง | เข้าชม 1,713 ครั้ง ปัจจุบันสายการบินต่างๆได้มีความห่วงใยในความสะดวกสบาย และความปลอดภัยของผู้โดยสาร โดยเฉพาะในเรื่องการดูแลสุขภาพในระหว่างการเดินทาง เราจึงได้เลือกนำเรื่องราวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ในระหว่างเที่ยวบินมานำเสนอ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากทีเดียว ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณสายการบิน แควนตัส สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้ครับ
เมื่อคุณเดินทางโดยเครื่องบิน แน่นอนที่สุดว่า คุณไม่สามารถที่จะยืดแข่งยืดขาได้เหมือนกับที่บ้าน และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องนั่งนิ่งๆ ไม่ได้ขยับเขยื้อนเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีความชื้นและความกดอากาศต่ำ ถึงแม้ภายในห้องโดยสารจะมีการปรับความกดอากาศ ให้เท่ากับระดับความสูงประมาณ 2,440 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เท่ากับสภาวะปกติ ที่คุณคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน
นอกจากนี้ การเดินทางทางอากาศมีข้อแตกต่างจากการเดินทางในรูปแบบอื่นๆ ตรงที่สามารถเดินทางข้ามโซนเวลาได้อย่างรวดเร็ว แต่ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสาเหตสำคัญที่ทำให้รบกวนกลไกการทำงานของ "นาฬิกาชีวภาพ" ในร่างกายของเรา และยังทำให้เกิดการสับสนกับการเปลี่ยนแปลงทางเวลา โดยเฉพาะการเดินทางไปยังโซนเวลาที่แตกต่างกันมากๆ ถึงแม้จะยังไม่มีข้อสรุปทางการแพทย์อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเรื่อง "นาฬิกาชีวภาพ" ก็ตาม แต่สายการบินส่วนใหญ่ ก็ได้แนะนำวิธีการต่างๆ แก่ผู้โดยสาร เพื่อดูแลสุภาพบนเครื่องบิน ให้การเดินทางของคุณ ราบรื่นและสุขสบาย และแนวทางต่อไปนี้คุณสามารถทดลองทำตาม เพื่อช่วยเพิ่มความรู้สึกสบายในระหว่างและหลังเที่ยวบินได้ครับ
ความชื้นในห้องโดยสารและการสูญเสียน้ำของร่างกาย
โดยปกติแล้ว ในห้องโดยสารบนเครื่องบินนั้น ระดับความชื้นจะมีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับบนพื้นดิน โดยน้อยกว่าถึงร้อยละ 25 ทั้งนี้เป็นเพราะระดับความชื้นในอากาศภายนอก มีระดับต่ำมากและอากาศเหล่านี้จะถูกหมุนเวียน นำมาใช้ในห้องโดยสารภายใน ความชื้นในอากาศที่มีอยู่น้อยนี้ จะทำให้คุณรู้สึกถึงความแห้งที่จมูก คอ และดวงตา และคุณที่สวมใส่คอนแทคเลนส์จะรู้สึกระคายเคืองได้มากเป็นพิเศษ
ข้อแนะนำ
• ดื่มน้ำบริสุทธิ์และน้ำผลไม้บ่อยๆ
• ดื่มกาแฟ ชา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อย เพราะการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้คุณปัสสาวะบ่อยขึ้น ร่างกายคุณก็จะสูญเสียน้ำมากขึ้นอีก
• ถอดคอนแทคเลนส์แล้วสวมแว่นตาแทน หากคุณรู้สึกระคายเคือง และแห้งมากๆ ที่ดวงตา
• ชโลมครีมทาผิวเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและความสดชื่นให้แก่ผิว
การบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม
การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มให้เพียงพอ จะช่วยเพิ่มความรู้สึกสบายทั้งในระหว่างและหลังการ เดินทาง
ข้อแนะนำ
• หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจนอิ่มเกินไป ทั้งก่อนและระหว่างเดินทาง นอกจากจะทำให้คุณรู้สึกอึดอัดระหว่างนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานแล้ว การนั่งไม่ได้ขยับเขยื้อนนานๆ ทำให้ระบบการย่อยอาหารของร่างกาย ทำงานด้วยความยากลำบากมากขึ้น
• ดื่มกาแฟ ชา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อย เพราะการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้เกิดการขับปัสสาวะ ร่างกายจึงสูญเสียน้ำมากเป็นพิเศษ
เมื่อคุณนั่งหลังตั้งตรงและไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานาน คุณทราบหรือไม่ว่ามีหลายสิ่งเกิดขึ้นกับร่างกายของคุณ โดยที่คุณไม่รู้ตัว
• เส้นเลือดใหญ่ในขาของคุณจะหดตัว ทำให้เลือดไหลเวียนกลับไปเลี้ยงหัวใจได้ยากขึ้น
• กล้ามเนื้อเกิดความตึงเครียด ผลที่ตามมาคืออาการปวดหลัง และรู้สึกเหนื่อยล้าอย่างมากในระหว่างเดินทางและแม้แต่เมื่อคุณถึงจุดหมายปลายทางแล้ว
• ระบบกลไกปกติในการลำเลียงเลือดกลับสู่หัวใจอาจทำงานผิดปกติ และแรงโน้มถ่วงของโลกยังทำให้เลือดสะสมอยู่ที่เท้ามากเกินไป ส่งผลให้เท้าบวม โดยเฉพาะในเที่ยวบินระยะไกล
• ผลการศึกษาหลายแห่งได้สรุปว่า การไม่ขยับร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เลือดเกาะตัวกันเป็นก้อนที่บริเวณขา หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า DVT-deep vain thrombosis หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อโรคชั้นประหยัด (Economy Class Syndrome) นอกจากนั้นการใช้ยาเฉพาะทาง และโรคประจำตัวบางโรค อาจส่งผลให้เกิดภาวะเส้นเลือดอุดตันได้เช่นกัน หากคุณอยู่ในท่าเดิมๆ เวลานาน
การวิจัยทางการแพทย์ได้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อ การอุดตันของเส้นเลือดดำที่ขา อันได้แก่
• บุคคลในครอบครัวเคยมีประวัติการเป็น DVT มาก่อน
• พึ่งเข้ารับการผ่าตัดหรือได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่อนขาหรือช่องท้อง
• เลือดมีภาวะผิดปกติซึ่งนำไปสู่แนวโน้มภาวะการอุดตันที่สูงขึ้น
• ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายนานกว่า 1 วันหรือมากกว่านั้น
• อายุ 40 ปีขึ้นไป
• รับการรักษาด้วยฮอร์โมน Oestrogen รวมทั้งการรับประทานยาคุมกำเนิด
• ตั้งครรภ์
• ผู้สูบยาเส้น บุหรี่
• เคยหรือเป็นโรคร้ายแรง
• อ้วนพุงพลุ้ย
• อยู่ในภาวะการสูญเสียน้ำของร่างกาย
• ผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลว
• ภาวะเส้นเลือดขอด
ข้อแนะนำ
• หากคุณเข้าข่ายลักษณะบ่งชี้ข้างต้น หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาทางสุขภาพ อันเนื่องจากการเดินทางโดยเครื่องบิน เราขอแนะนำให้ปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนการเดินทางครับ
• การสวมถุงเท้ายาวแบบพิเศษ อาจช่วยป้องกันการโป่งบวมของข้อเท้าและเท้า และยังอาจช่วยให้เลือดหมุนเวียนกลับสู่ร่างกายส่วนบนได้ คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับถุงเท้าแบบพิเศษลักษณะนี้ หรืออาจสั่งซื้อได้จากบริษัทที่จัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ และมีหลายขนาดซึ่งคุณจำเป็นต้องเลือกให้พอเหมาะกับขนาดขาของคุณครับ
• ในระหว่างเที่ยวบิน ให้ขยับเขยื้อนขาและเท้าของคุณเป็นระยะเวลาประมาณ 3-5 นาทีต่อชั่วโมง ซึ่งคุณสามารถทำได้ขณะที่คุณนั่งประจำที่นั่ง และลุกขึ้นเดินสำรวจห้องโดยสารบ้างเป็นครั้งคราว
• ปฏิบัติตามแนวทางการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ ที่จะได้แนะนำต่อไปในหัวข้อการออกกำลังกายใน ระหว่างเที่ยวบินครับ
การบริหารร่างกายเพื่อความสบายระหว่างเดินทาง (Inflight Workout)
การบริหารร่างกายต่อไปนี้ ได้รับการคิดค้นขึ้นมาโดยคำนึงถึงเกิดความปลอดภัยในการยืดเส้นสาย และให้ความเพลิดเพลินอีกด้วย การนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึงเครียดได้ การบริหารนี้ยังช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเป็นการนวดกล้ามเนื้ออีกด้วย
เราแนะนำให้คุณออกกำลังประมาณ 3-5 นาทีทุกชั่วโมง และลุกเดินออกจากที่นั่งของคุณบ้างเป็นครั้งคราว
ในการบริหารแต่ละท่า ควรหลีกเลี่ยงการรบกวนผู้โดยสารที่อยู่ข้างเคียงคุณ และไม่ควรทำต่อหากก่อให้เกิดความเจ็บปวด
1. ท่าหมุนข้อเท้า ยกเท้าขึ้นเหนือพื้น วาดวงกลมด้วยนิ้วเท้า ในเวลาเดียวกัน ให้ขยับเท้าข้างหนึ่งตามเข็มนาฬิกา และอีกข้างทวนเข็มนาฬิกาสลับทิศทางของวงกลมเมื่อหมุนได้ทิศทางละ 15 วินาที สามารถทำซ้ำได้ตามความต้องการ |
|
|
|
3. ท่ายกเข่า |
|
4. ท่าหมุนคอ |
|
5. ท่ายกเข่าเข้าหาอก |
|
6. ท่าโค้งตัวไปข้างหน้า |
|
7. ท่าหมุนไหล่ |
ความกดอากาศภายในห้องโดยสาร
ความกดอากาศภายในห้องโดยสารนั้นได้ถูกปรับให้สมดุลที่สุด เพื่อความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร ถึงแม้จะบินอยู่ในระดับที่สูงมาก ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นระดับที่มนุษย์เราไม่สามารถอยู่ได้ ดังนั้นในห้องโดยสารเครื่องบิน จึงมีการปรับความกดอากาศให้เหมาะสม ซึ่งระดับดังกล่าวเสมือนระดับความสูงประมาณ 2,440 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลครับ
ผู้โดยสารส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีปัญหากับสภาพความกดอากาศในห้องโดยสารระหว่างเดินทาง รวมถึงความกดอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงในขณะเครื่องบินเพิ่มหรือลดเพดานบิน แต่หากขณะนั้นคุณไม่สบาย หรือมีปัญหาจากอวัยวะที่เกี่ยวกับการหายใจ หรือการติดเชื้อในช่องจมูก โรคเกี่ยวกับปอด โรคโลหิตจาง หรือภาวะทางหัวใจบางประการ คุณอาจเกิดรู้สึกไม่แย่มากขึ้นไปอีก
เด็กเล็กและทารกก็เช่นเดียวกัน อาจรู้สึกไม่สบาย อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศในระหว่างเครื่องบินที่กำลังเพิ่ม และลดระดับเพดานบิน สังเกตได้จากเด็กจะงอแงและร้องส่งเสียงดัง
หากคุณมีปัญหาจากการหายใจติดขัดหรือมีอาการภูมิแพ้ ให้ใช้สเปรย์ที่ฉีดพ่นทางจมูก ใช้ยาบางตัวเพื่อเปิดช่องให้หายใจได้สะดวก และใช้ยาบำบัดหวัดและหืด 30 นาทีก่อนลดระดับเพดานบิน เพื่อช่วยเปิดหูและช่องจมูก
หากคุณเป็นไข้หรือเป็นไข้หวัดใหญ่ โพรงจมูกของคุณอาจใช้งานไม่ได้เหมือนปกติ พังผืดในจมูกจะโป่งพองและก่อให้เกิดการกีดขวางในส่วนช่องแคบเล็กๆ ระหว่างโพรงจมูกกับห้องหูส่วนกลาง เป็นผลให้เกิดความรู้สึกไม่สบาย (ปวดหู, โพรงจมูก) ในขณะที่ความกดอากาศภายในห้องโดยสารเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะเครื่องบินทำการลดระดับเพดานบิน
ข้อแนะนำ
• หากคุณเคยมีประวัติทางการแพทย์ และเคยมีอาการดังกล่าวมาก่อน และต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มเติม คุณสามารถแจ้งกับทางสายการบินได้ โดยทำการแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการเดินทาง (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละสายการบิน)
• เพื่อเป็นการเปิดช่องหู ให้กลืนน้ำลาย และหรือหาวโดยอ้าปากกว้าง วิธีการนี้จะช่วยเปิดช่องแคบเล็กๆ ระหว่างโพรงจมูกกับห้องหูส่วนกลาง ปรับความกดดันในห้องหูส่วนกลางกับลำคอให้เสมอกัน
• หากเดินทางพร้อมทารก ให้คุณป้อนอาหาร หรือให้ทารกดูดจุกนมในระหว่างเครื่องบินทำการลดระดับเพดานบิน การดูด หรือกลืนนี้จะช่วยให้ทารกปรับความกดอากาศในช่องหูได้
ความเหนื่อยล้าจากการเดินทางโดยเครื่องบิน
สาเหตุหลักของอาการเหนื่อยล้ามาจากการเดินทางข้ามเขตเวลา โดยที่ร่างกายไม่ได้ปรับตัวกับรอบเวลาใหม่ โดยทั่วไป ยิ่งคุณเดินทางข้ามเขตเวลามากเท่าใด ก็ยิ่งจะเป็นการรบกวนนาฬิกาชีวภาพในร่างกายของเรามากขึ้นเท่านั้น อาการที่จะเกิดขึ้นตามมาโดยทั่วไปได้แก่ การนอนไม่หลับ ความรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากรับประทานอาหาร หรืออยากทานอาหารในเวลาที่ไม่เหมาะสม
เพื่อเป็นการลดผลกระทบจากความเหนื่อยล้าจากการเดินทาง เราขอแนะนำให้คุณ
• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในคืนก่อนการเดินทาง
• ถ้าเป็นไปได้ ให้เวลา 1-2 วัน เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวสู่รอบเวลาใหม่หลังจากการเดินทาง
• ถ้าเลือกได้ควรเลือกเที่ยวบินที่บินตรงสู่จุดหมาย เพื่อเป็นการลดระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ทั้งนี้จะช่วยให้คุณพักผ่อนได้มากขึ้นเมื่อเดินทางถึงจดหมายปลายทางแล้ว
• ให้ออกกำลังกายเบาๆ เดินกระฉับกระเฉงไปมา หรืออ่านหนังสือหากคุณไม่สามารถนอนหลับเมื่อคุณเดินทางถึงที่หมาย โดยปกติแล้วร่างกายจะใช้เวลา 1 วันโดยประมาณ เพื่อปรับตัวสู่รอบเวลาใหม่